การบริโภคน้ำในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งสภาพภูมิอากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต่อนักศึกษาและบุคลากร ซึ่งพื้นที่สำคัญ ๆ ที่ใช้น้ำ เช่น โรงอาหาร ภูมิทัศน์ อาคาร ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ สนามกีฬา เป็นต้น โดยในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2566 ได้สรุปการบริโภคน้ำที่ใช้ทุกวิทยาเขต ตามแผนภูมินี้
จากแผนภูมิทำให้เห็นว่า ในช่วงเปิดภาคเรียน เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคมมีการใช้น้ำในปริมาณเพิ่มขึ้น และในทางกลับกันในช่วงปิดภาคเรียน เดือนมิถุนายน มีการใช้น้ำในปริมาณที่ต่ำสุด เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ลดน้อยลง
ซึ่งมหาวิทยาลัย ได้นำมาตรการต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ให้บุคลากรและนักศึกษา ประหยัดการใช้น้ำ และกฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้น้ำในกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากกราฟแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้น้ำตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2567 โดยการเปรียบเทียบการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำประปา ใน 5 พื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยพื้นที่สงขลามีบุคลากรและนักศึกษาเป็นจำนวนมาก มีการใช้น้ำจากระบบประปา (สายสีน้ำเงิน) เป็นจำนวนมาก และใน 3 พื้นที่ พื้นที่ทุ่งใหญ่ พื้นที่ไสใหญ่ และพื้นที่ จ.ตรัง มีการใช้น้ำจากระบบประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ (สายสีเขียว) โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งใหญ่ และพื้นที่ จ.ตรัง มีการใช้แหล่งน้ำธรรมชาติมากกว่าระบบประปา ทำให้ชี้ได้ว่า มหาวิทยาลัยมีความพยายามลดการใช้น้ำจากระบบประปา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง และยังสนับสนุนระบบนิเวศน์ เช่น การเก็บน้ำฝน การติดตั้งแบบไหลต่ำ เป็นต้น